วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อาหารฮาลาล จากอ่างศิลาถึงบางแสนฮาเฮ 2


กลับมาแล้วตามที่สัญญาไว้ จะเอาเมนูมาแนะนำค่ะ ของร้านทักษิณฟาร์ม หรือยะยาห์ซีฟู้ด นั่นเอง
ไปกันหลายคนก็เลยสั่งมาหลายอย่าง หน้าตาอาหารเป็นไงบ้างคะ งั้นมาดูกันใกล้ๆเลย
ปลากะพงทอดสมุนไพร, ทอดมันกุ้ง, ต้มยำมะพร้าวอ่อน, ทะเลผัดน้ำพริกเผา, ปลาเห็ดโคนทอดกระเทียม (ไม่แน่ใจแต่น่าจะใช่ จำได้ว่าอร่อยดี)

หมายเหตุ : ชื่อเมนูจริงๆ อาจไม่ใช่นี้ จำได้พอลางๆ อ่ะคะ แหม...อายจัง
ฮ่าๆๆ จำชื่อไม่ได้แต่จำรสชาดก็ดีแล้วค่ะ แวะไปลองกันได้นะคะ อร่อยทุกเมนูค่ะ ที่ร้านทักษิณฟาร์ม หรือยะยาห์ซีฟู้ด ถนนเลียบชายหาดอ่างศิลาใกล้หาดบางแสน ได้เรื่องยังไงมาเล่าให้ฟังบ้างเน้อ....

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จากอ่างศิลาถึงบางแสนฮาเฮ




ยกโขยงกันทั้งครอบครัวไปเที่ยวอ่างศิลามาค่ะ ออกจากบ้านก็ไม่เช้าเท่าไหร่ ถึงอ่างศิลาก็ไม่เกินเที่ยง จุดมุ่งหมายแรกคือสะพานปลาค่ะ คนเยอะน่าดู แต่ก็น่าตื่นตาตื่นใจกับอาหารทะเลสดๆมากมาย ชะแว๊บสายตาก็ไปสะดุดกับรถเข็นคันนี้ค่ะ เจ้ตุ๋ย มีตราฮาลาลด้วยเลยซื้อหมึกไปให้ร้านนี้เขาย่างให้หน่อย อยากอุดหนุนอ่ะค่ะ เริ่นต้นกิโลกรัมละ 30 บาทค่ะ


ที่ต่อไป ยังไม่เที่ยง เลยไปเที่ยวตลาดเก่าอ่างศิลาก่อน อารมณ์ประมาณตลาดเก่าหลายที่ที่เคยไป คือ มีบ้านเก่า ส่วนร้านค้าแทบไม่ต่างกัน วันที่ไปไม่ใช่เสาร์อาทิตย์เป็นวันหยุดราชการเฉยๆ ร้านค้าเลยยังไม่เยอะเท่าไหร่ แต่ก็โอเคค่ะ

ส่วนอันนี้เรียก "ตึกแดง" พระตำหนักเก่าของ รัชการที่ 4 ค่ะ

หิวแล้วอ่ะ ขึ้นรถขับไปถนนเลียบหาด น่าจะเป็นเส้น 3134 จะเจอร้านนี้ค่ะ
ทักษิณฟาร์ม และ ยะยาห์ซีฟู้ด ร้านอาหารมุสลิมริมถนนก่อนถึงชายหาดบางแสนค่ะ ร้านเดียวกันแหละแต่มี 2 ป้าย บรรยากาศร้านโอเคค่ะ โปร่งๆ โล่งสบาย ที่สำคัญมีที่ละหมาดด้วย บรรยากาศดีสุดๆ ละหมาดหันหน้าออกทะเล ส่วนหน้าตาอาหารจะเป็นอย่างไรนั้น มาฮาเฮต่อกันตอน 2 นะคะ

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อาหารฮาลาล ใน มหาวิทยาลัย



ไปทำงานมาค่ะ คราวนี้ ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม ต้องอยู่ที่นั่นตั้งแต่เช้าจรดเย็น มื้อกลางวันจะไปทานที่ไหน ขอแนะนำ เดินไปที่อาคารกิจกรรมนักศึกษาเลยค่ะ (ถ้าจำไม่ผิดว่าชื่อตึกนี้) ชั้น 1 เป็นโรงอาหารติดแอร์


มีร้านอาหารอิสลาม 1 ร้าน มีสัญลักษณ์เห็นเด่นชัด ประเภทอาหารก็เป็นข้าวราดแกง กับข้าวก็มีให้เลือกมากมายตามใจชอบ และก็มีข้าวหมก ด้วยค่ะ ชอบอาหารประเภทไหนก็เลือกสรรได้ พี่น้องท่านใดที่ผ่านไปแถวถนนพหลโยธินก็แวะไปได้นะคะ


ส่วนห้องละหมาด หรือ ชมรมมุสลิมคาดว่ามี แต่ไม่มีข้อมูลวานน้องๆนักศึกษาที่เรียนที่นั่นแวะมาบอกข้อมูลด้วยนะจ๊ะ

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เกาะเกร็ด




คราวนี้หายไปนาน แต่ก็กลับมาแล้วค่า ช่วงนี้อยู่ในช่วงถือศีลอดของชาวมุสลิม เลยไม่ได้ไปเที่ยวไหน แต่ก่อนเข้าเดือนรอมฎอนก็แอบไปเที่ยวมาจนได้ คราวนี้ไปต่างจังหวัดค่ะ ไปเที่ยวเกาะค่ะ พูดเหมือนไกล แต่ใกล้ๆ กรุงเทพฯ นี่เอง


เกาะเกร็ด อยู่แค่นี้เอง อ.ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ถิ่นที่อยู่ของชาวมอญ ไปก็ไม่ยากค่ะ ถ้าเอารถไปก็ไปจอดที่วัดสนามเหนือ เสียค่าจอด 30 บาท จากนั้นนั่งเรือไปค่ะ แค่อึดใจเดียวก็ถึงเกาะเกร็ดแล้วค่ะ อ้อ เสียค่าเรือ 2 บาทด้วยนะคะ


เมื่อถึงแล้วก็ตามสบายเลยค่ะ อยากเที่ยวแบบไหนตามอำเภอใจ ถ้าจะเดินเที่ยวเส้นทางก็ไม่ยาวมากแค่ประมาณกิโลเดียว เดินไปเดินมาก็เหนื่อยเหมือนกันนะคะ ที่เหนื่อยไม่ใช่แค่เดินเหนื่อยก็แหม..ของมันล่อตาล่อใจไหนจะของกินไหนจะของเล่น ว้าว...เยอะไปหมด เมื่อยแขนน่าดูเลยค่ะ


ขนมโบราณก็มีเยอะนะคะ อย่างเช่นขนมดอกจอก ไม่ค่อยได้เห็นที่ไหน ชิมแล้ว อร่อยดีค่ะ ขนมช่อม่วงทั้งสวยทั้งอร่อย


ที่เกาะเกร็ดมีของขึ้นชื่อมากมายค่ะ ที่ผู้คนพูดถึงมากก็จะเป็นเครื่องปั้นดินเผา กับ ทอดมันหน่อกะลา หาชิมได้ตามทางเลยค่ะมีหลายร้าน แต่ถ้าใครอยากออกกำลังและสัมผัสวิถีชาวบ้าน ขอแนะนำจักรยานค่ะ 40 บาท ทั้งวัน ขี่ได้รอบเกาะ ก็ไม่มากค่ะ ประมาณ 15 กิโลเมตร คราวนี้ไปยังไม่ได้ลองเนื่องจากเวลาไม่อำนวย เอาไว้คราวหน้าละกัน ส่วนร้านอาหารมุสลิมบนเกาะ ที่พบมีเพียงโรตีค่ะเป็นรถเข็นของอาบัง จากการสันนิษฐาน คาดว่าคงยังไม่ได้สัญชาติไทย แต่รับรองฮาลาลค่ะ แล้วถ้าหิวมากอยากทานอาหารคาวไม่ต้องห่วงค่ะ เมืองนนท์ มุสลิมเยอะ ขึ้นฝั่งไปคงเจอหลายร้าน ถ้าได้ไปอีกจะมาแนะนำอีกนะคะ







วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ฮาลาล ย่านสำนักงาน



เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีโอกาสไปเตร็ดเตร่แถวย่านสำนักงาน ผู้คนมากมายเลยค่ะ ความตั้งใจแรก ไหนๆ ก็ไปแถวนั้นแล้ว ว่าจะไปเที่ยวที่พิพิธภัณฑ์ไปรษณีย์ไทย หลังไปรษณีย์สามเสนสักหน่อย แต่ด้วยเวลาไม่อำนวยเลยอด เอาไว้คราวหน้าจะไม่ยอมให้พลาดเลย

หลังจากความตั้งใจถูกทำลายก็เลยไปเดินเล่นแถวนั้นแทนแต่ก็ไม่ผิดหวังเคยค่ะ กลายเป็นว่าได้มาช็อปกระจายแทน ได้ของกลับบ้านไปมากมาย ก็ย่านนี้มีสำนักงานอยู่หลายแห่ง คนก็มาก ของก็ต้องมีมาขายเยอะเป็นธรรมดา แต่เราไม่ได้ทำงานแถวนั้นเวลาช็อปเลยมากกว่าเขา (ฮ่าๆๆ) ช่วงพักเที่ยงถือเป็นเวลาทองของคนขายของ เพราะพอบ่ายๆก็เริ่มเก็บแล้วค่ะ สินค้าก็มีให้เลือกสรรมากมาย ทั้งเสื้อผ้า รองเท้า ตามแฟชั่น ของใช้กระจุกกระจิก อาหารการกินแทบจะทุกประเภทเลยค่ะ

ส่วนร้านอาหารมุสลิม ที่บังเอิญเดินไปเจอ แต่เสียดายไม่ได้แวะไปรับประทาน อยู่ที่อาคารพหลโยธนเพลส ฝั่งพลาซ่า ชื่อว่า ร้านมาเรียม อยู่ที่ศูนย์อาหารชั้น 3 อาหารก็เป็นประเภท ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ ฯลฯ คราวนี้ไม่ได้ไปทานแต่เอาเป็นว่ารับรู้ถึงการมีอยู่ไปก่อนแล้วกัน ใครผ่านไปผ่านมาแถวนั้นก็แวะไปได้นะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สำเพ็ง...กับ halal food


ความหวัดยังไม่หาย แต่ความอยากไปเที่ยวก็มาแทรก (เอ๊ะ!!ยังไง) ไปสำเพ็งมาค่ะ ไปกี่ครั้งคนก็ยังหนาแน่นเหมือนเดิม ทั้งที่ความจริงก็ไม่ได้อยากได้อะไร แต่พอไปถึงก็อดใจไม่ไหว ได้ของกลับมาทุกที ก็ของมันกระจุกกระจิก น่ารักไปหมด เลยนี่คะ ไปแต่ละทีไม่เคยได้มาน้อยชิ้น เพราะเขาขายส่ง ซื้ออย่างน้อยต้อง 3 ชิ้นขึ้นไป ถ้าไปคนเดียวก็ตัดสินใจซื้อยากเพราะมันมากไป แต่ไปหลายคนก็ช่วยกันแชร์ค่ะ

นอกจากของกระจุกกระจิกแล้ว สำเพ็งยังเป็นแหล่งค้าผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บมากมาย และตลอดเส้นทางยังมีขนมให้เลือกกินเยอะแยะเลยค่ะ

การไปสำเพ็งแต่ละครั้ง คุณ จะต้องใช้วิชานินจาเฉพาะตัวค่ะ เพราะบรรดารถเข็นของ รถมอเตอร์ไซค์ขนผ้า จะวิ่งกันให้ขวักไขว่ ภายในซอยเล็กๆ เหล่านั้น ดังนั้นเวลาเดินชมของก็ต้องมองรอบข้างระวังเท้าและระวังทรัพย์สินให้ดี เพราะคนเยอะๆ อะไรก็เกิดขึ้นได้

เดินกันจนเหนื่อยละ หาที่นั่งพักรับประทานอาหารกันดีกว่าคะ สำหรับมุสลิม หรือ ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ที่หาร้านอาหาร แนะนำให้เดินไปที่ ดิโอ สยาม ค่ะ ไปที่ ศูนย์อาหารชั้น 3 หาร้านชื่อ อาอีซะห์ อาหารอิสลาม เมนูที่ร้านนี้มี ก็ไม่ได้แตกต่างจากร้านอาหารฮาลาลตามห้างทั่วไป เพราะเมนูที่เห็นกันเป็นประจำ ชินตา (แอบเบื่อเล็กน้อย) ข้าวหมกไก่ ข้าวสตูไก่ ซุปไก่ ซุปเนื้อ มีแกงมัสมั่น ฯลฯ คราวทีแล้วไปทานสตูไก่ กับ ซุปไก่ โอเคค่ะ ใช้ได้ ลองไปทานดูนะคะ จำได้ว่ามีอีกหนึ่งร้านแถวหน้าโรงเรียนเพาะช่าง เป็นร้านก๋วยเตี๋ยว กับข้าวแช่ แต่ครั้งนี้ไม่ได้ไป เอาไว้คราวหน้าไปใหม่จะเอามาฝากนะคะ
ส่วนวิธีการไป บ้านเราอยู่แถวรามคำแหง ก็นั่งเรือคลองแสนแสบไปคะ 16 บาท สุดสายที่ผ่านฟ้า (ไม่นิยมเอารถไปค่ะ ที่จอดรถแพง) จากนั้นเดินมาขึ้นรถเมล์ที่ข้างป้อมมหากาฬ สาย 56 ก็จะไปถึงสำเพ็งได้แล้วคะ นั่งรถไปสักพักไม่ไกลเท่าไหร่ค่ะ ถ้ากลัวลงไม่ถูกก็ถามกระเป๋ารถเมล์ หรือสังเกตุที่คนเดินพลุกพล่านให้อนุมานเอาว่าใช่ค่ะ แต่จะให้แน่ถามเขาดีกว่าค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อาหาร ฮาลาล ที่ 7-11








ช่วงนี้หลายๆคนอาจได้ไม่ไปไหน แม้จะมีช่วงเวลาหยุดยาวมากมาย อาจเป็นเพราะช่วงนี้มีข่าวหาหูเรื่องการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 เลยไม่กล้าออกไปพบปะผู้คนมากมายกันในช่วงนี้ ส่วนตัวก็ไม่ได้ออกไปไหนเช่นกัน แต่ก็มีเรื่องมาฝากกันนะ เวลาไปเที่ยวตามต่างจังหวัด บางทีก็หา อาหารฮาลาล ทานกันยากใช่ไหม ยิ่งเวลาที่ต้องนั่งรถทางไกล ตามจุดพักรถก็ไม่ค่อยมีอาหารที่มุสลิมจะทานได้ วันนี้จะขอแนะนำอีกทางเลือกหนึ่ง ที่หลายคนอาจยึดเป็นทางเลือกประจำไปแล้ว ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ที่มีมากมายราวดอกเห็ด คือ ที่หมายตาของเราในเวลาคับขัน บางคนอาจเถียงแม้ไม่ใช่เวลาคับขันก็ต้องเข้าทุกวันถึงขั้นเสพติดเลยทีเดียว วันไหนไม่ได้ไป 7-11 เหมือนชีวิตจะขาดอะไรไป

เมนูวันนี้ที่ขอแนะนำ ไส้กรอก BKP ฮาลาล อีหนึ่งทางเลือกเพื่อดับความหิวโหย ข้อแนะนำก็คือเดินไปที่ตู้แช่ จะเห็นผลิตภัณฑ์ไส้กรอกมากมาย เลือกหยิบที่มีตรา ฮาลาล ตามใจชอบ (เพราะมีหลายอย่าง) ราคาประมาณ 36 บาท ถ้าคิดว่าไม่น่าอิ่มก็เลือก นม มาเคลือบกระเพาะอีกสักหนึ่งรายการ จากนั้นเดินไปที่เคาเตอร์ บอกพนักงานว่า เวฟด้วยค่ะ แค่นี้ก็รอดตายไปอีกมื้อ อ้อถ้าเลือก แบบ ไส้กรอกชิกเก้นแฟรงค์ เขาอาจจะถามว่าหั่นไหมค่ะ/ครับ หลีกเลี่ยงดีกว่าค่ะ เพราะไม่รู้เขาหั่นชนิดไหนมาบ้าง อาจปนเปื้อนได้นะจ๊ะ เขียนไปเขียนมาหิวซะล่ะ ไปซื้อมาทานดีกว่า เพราะอันนี้บอกได้ว่าอร่อยดีค่ะ

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อาหาร "ฮาลาล" ที่ตลาดน้ำตลิ่งชัน




ไปมาแล้ว..... ตลาดน้ำในกรุงเทพมหานคร อยู่ที่เขตตลิ่งชัน


ใครจะนึกว่าในกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไทยก็มีตลาดน้ำเหมือนกัน มีโอกาสได้ไปตลาดน้ำแห่งนี้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา คนเยอะเหมือนกันคะ เป็นตลาดน้ำที่ไม่ใหญ่มาก คาดว่าคงเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วย เพราะมีกิจกรรมให้นั่งเรือไปชมสวนกล้วยไม้ด้วย น่าเสียดายที่คราวนี้กว่าจะไปถึงก็บ่ายแล้วเลยไม่มีโอกาสได้ไปนั่งเรือชมสวน สอบถามจากเจ้าหน้าที่ บอกว่าใช้เวลาล่องเรือประมาณ 2 ชั่วโมง พอดีหิวเลยขอหา อาหาร ใส่ท้องก่อน กว่าจะทานเสร็จ เม้าท์เสร็จเวลาก็ล่วงเลยมาเย็นจนเกินไป เลยหมดสิทธิ์เที่ยวที่ไหนต่อ วางแผนไว้ว่าคราวหน้าจะไม่พลาดแน่นอนจ้า


มาที่ อาหาร การกินกันบ้าง บนบกก็มีอาหาร ให้เลือกมากมาย ทั้งของคาว ของหวาน แต่ที่หมายตาของเราก็คือ อาหาร ฮาลาล (Halal food) ที่เห็นก็มีขนมมากมายหลายอย่างที่เราทานได้ ส่วนมากก็เป็นขนมไทย ที่มีตรา ฮาลาล หน้าร้าน ขายกุ้ยช่ายทอด เดินมาอีกหน่อยริมน้ำ มีร้านอาหารมากมาย มีอาหารหลายแนว ที่น่าสนใจก็มีปลาช่อนเผาเกลือ อาหารทะเลเผาก็มีมาก เลือกทานได้หลายร้าน แต่ถ้ามองหา อาหาร ฮาลาล (Halal food) แนะนำให้เดินไปทางขวามือ เดินไปริมสุด ใต้สะพานรถไฟ จะพบร้าน อาหาร อิสลาม มีก๋วยเตี๋ยวแกง สลัดแขก (จำได้แค่นี้อ่ะ แต่หน้าจะมีอีก) ใครได้ทานอย่าลืมมเล่าสู่กันฟังเรื่องรสชาดด้วยนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อาหาร "ฮาลาล" ที่อัมพวา

"อัมพวา" ตลาดน้ำยามเย็น ที่จังหวัดสมุทรสงคราม สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จักของผู้คนอย่างกว้างขวาง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยามเย็น ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ที่อบอวลไปด้วยวิถีชาวบ้านและธรรมชาติที่น่ารื่นรมย์


สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเยือนตลาดน้ำอัมพวา นอกจากการไปล่องเรือชมหิ่งห้อยที่ส่องแสงยามระยิบระยับยามค่ำคืนที่ถือเป็น ไฮไลท์ ของตลาดน้ำอัมพวาแล้ว เรื่องอาหารการกินก็ไม่ควรพลาด เพราะมีให้เลือกสรรหลากหลายประเภท และหลากหลายลำค้า (มาเป็นเรือเลยเรียกลำแทนร้าน) ไม่ว่าจะเป็นผัดไท หอยทอด ก๋วยเตี๋ยว อาหาร ทะเลเผา และที่ขาดไม่ได้ของขึ้นชื่อถ้ามาที่นี่ต้อง ปลาทูทอด


สำหรับมุสลิม หรือ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ก็หาอาหาร ฮาลาล (Halal food) ได้ที่นี่ค่ะ ที่ไปเที่ยวมาเห็น 2 ร้าน (ใครเห็นว่ามีมากกว่านั้นรบกวนแจ้งด้วยนะคะ) ถ้าเป็นร้าน อาหาร ฮาลาล (Halal food) ในเรือ มี 1 ลำ จอดแถวหน้า ร้านกาแฟทางเข้าสวนของมูลนิธิชัยพัฒนา ชื่อ บังสมหวัง-นิอามีนะห์ หอยทอด สุเหร่าคลองแขก 20 บาท ลองมองหาดูค่ะ นิเขาคลุมฮิญาบเห็นชัดเจนว่า อาหาร ฮาลาล (Halal food) มุสลิมแน่


ส่วนร้านที่ 2 อยู่บนบกแถวท่าเรือที่เรานั่งข้ามมาจากที่จอดรถในวัด ลองเดินดูค่ะบอกพิกัดไม่ได้แน่นอน จำได้ว่าอยู่หน้าสถานที่ราชการ อะไรสักอย่าง (สำนักงานเทศบาล ตำบลอัมพวา) ขายอาหาร ฮาลาล (Halal food) ประเภท กระเพาะปลา น้ำขิง น้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋



บอกไม่ได้ว่าร้านไหนอร่อยกว่ากัน เพราะปกติทานได้หมด ลองไปทานกันดูนะคะ แล้วมา บอกด้วยแล้วกัน

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ฮาลาล คือ ???



“ฮาลาล” (HALAL) เป็นคำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่า “อาหารฮาลาล” (HALAL FOOD) คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง

มาทำความรู้จักกับ “ฮาลาล” (HALAL) กันเถอะ “ฮาลาล” (HALAL) เป็นคำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่า “อาหารฮาลาล” (HALAL FOOD) คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้โดยสนิทใจ เราสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็น “ฮาลาล” (HALAL) หรือไม่นั้น ได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” (HALAL) ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นสำคัญ “เครื่องหมายฮาลาล” คือเครื่องหมายที่คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่าง ๆ ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการทำการประทับ หรือแสดงลงบนสลาก หรือผลิตภัณฑ์ หรือกิจการใด ๆ โดยใช้สัญญลักษณ์ที่เรียกว่า “ฮาลาล” (HALAL) ซึ่งเขียนเป็นภาษาอาหรับว่า ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หลังกรอบเป็นลายเส้นแนวตั้ง ใต้กรอบภายในเส้นขนานมีคำว่า “สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” โดยเครื่องหมายดังกล่าวนี้ จะออกให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร (HALAL FOOD PRODUCT) และเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ฮาลาล (HALAL PRODUCT) และหรือเนื้อสัตว์ฮาลาลที่นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น

การอนุมัติสิ่งใด หรือการห้ามสิ่งใดใสศาสนาอิสลามเป็นประกาศิตที่มาจากอัลเลาะห์ผู้เป็นเจ้า และมาจากศาสนทูตของพระองค์เท่านั้น ถือเป็นหลักสำคัญที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดโดยไม่ต้องค้นหาเหตุผลการอนุมัติ หรือเหตุผลการห้ามแต่อย่างใด เมื่อพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้แจ้งไว้ เพราะมุสลิมมีความเชื่อมั่นศรัทธาว่าสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าอนุมัติเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ส่วนสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าห้ามเป็นสิ่งที่มีพิษภัยและมีโทษ พระผู้เป็นเจ้าผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมาทราบดีถึงสิ่งที่เป็นและเป็นโทษต่อมนุษย์ พระองค์จึงอนุมัติสิ่งที่เป็นคุณและห้ามสิ่งที่เป็นโทษ

ส่วนเหตุผลที่มนุษย์ค้นพบว่ามีข้อดีในสิ่งที่ศาสนาอนุมัติ และมีข้อเสียในสิ่งที่ศาสนาห้าม โดยพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้แจ้งไว้และได้นำมาอ้างอิงนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นไม่ใช่เป็นหลักสำคัญ เพราะเหตุผลที่มนุษย์ค้นพบอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ส่วนประกาศิตของพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นอมตะไม่เปลี่ยนแปลง
ในเมื่ออิสลามเป็นระบอบในการดำเนินชีวิตของมุสลิมชีวิตของมุสลิมจึงผูกพันอยู่กัลป์ศาสนาตั้งแต่เกิดจนตาย การกระทำทุกอย่างของมุสลิมต้องดำเนินอยู่ในกรอบที่ศาสนากำหนดในทุกกรณีทั้งเรื่องความผูกพัน ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า มนุษย์กับมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับสัตว์ มุสลิมต้องมีความเมตตาสงสารสัตว์ การกักขังสัตว์โดยไม่ให้อาหารเป็นเหตุให้ตกนรก การกลั่นแกล้งรังแกสัตว์ จะต้องถูกนำไปใต่สวรต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า การเชือดสัตว์เป็นสิ่งที่ศาสนาอนุมัติให้กระทำได้ภายใต้กรอบที่เชือดเพื่อเป็นอาหาร ไม่กระทำทรมานสัตว์ ต้องเชือดด้วยมีดที่คม ต้องให้สัตว์ล้มลงนอนอย่างดี ขณะเชือดต้องกล่าวนามของพระผู้เป็นเจ้า

เนื้อหา : จากหนังสือฮาลาลและฮารอมในอิสลาม ของเชคยูซุฟ อัลกอรดอวีย์