วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อาหาร "ฮาลาล" ที่ตลาดน้ำตลิ่งชัน




ไปมาแล้ว..... ตลาดน้ำในกรุงเทพมหานคร อยู่ที่เขตตลิ่งชัน


ใครจะนึกว่าในกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไทยก็มีตลาดน้ำเหมือนกัน มีโอกาสได้ไปตลาดน้ำแห่งนี้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา คนเยอะเหมือนกันคะ เป็นตลาดน้ำที่ไม่ใหญ่มาก คาดว่าคงเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วย เพราะมีกิจกรรมให้นั่งเรือไปชมสวนกล้วยไม้ด้วย น่าเสียดายที่คราวนี้กว่าจะไปถึงก็บ่ายแล้วเลยไม่มีโอกาสได้ไปนั่งเรือชมสวน สอบถามจากเจ้าหน้าที่ บอกว่าใช้เวลาล่องเรือประมาณ 2 ชั่วโมง พอดีหิวเลยขอหา อาหาร ใส่ท้องก่อน กว่าจะทานเสร็จ เม้าท์เสร็จเวลาก็ล่วงเลยมาเย็นจนเกินไป เลยหมดสิทธิ์เที่ยวที่ไหนต่อ วางแผนไว้ว่าคราวหน้าจะไม่พลาดแน่นอนจ้า


มาที่ อาหาร การกินกันบ้าง บนบกก็มีอาหาร ให้เลือกมากมาย ทั้งของคาว ของหวาน แต่ที่หมายตาของเราก็คือ อาหาร ฮาลาล (Halal food) ที่เห็นก็มีขนมมากมายหลายอย่างที่เราทานได้ ส่วนมากก็เป็นขนมไทย ที่มีตรา ฮาลาล หน้าร้าน ขายกุ้ยช่ายทอด เดินมาอีกหน่อยริมน้ำ มีร้านอาหารมากมาย มีอาหารหลายแนว ที่น่าสนใจก็มีปลาช่อนเผาเกลือ อาหารทะเลเผาก็มีมาก เลือกทานได้หลายร้าน แต่ถ้ามองหา อาหาร ฮาลาล (Halal food) แนะนำให้เดินไปทางขวามือ เดินไปริมสุด ใต้สะพานรถไฟ จะพบร้าน อาหาร อิสลาม มีก๋วยเตี๋ยวแกง สลัดแขก (จำได้แค่นี้อ่ะ แต่หน้าจะมีอีก) ใครได้ทานอย่าลืมมเล่าสู่กันฟังเรื่องรสชาดด้วยนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อาหาร "ฮาลาล" ที่อัมพวา

"อัมพวา" ตลาดน้ำยามเย็น ที่จังหวัดสมุทรสงคราม สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จักของผู้คนอย่างกว้างขวาง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยามเย็น ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ที่อบอวลไปด้วยวิถีชาวบ้านและธรรมชาติที่น่ารื่นรมย์


สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเยือนตลาดน้ำอัมพวา นอกจากการไปล่องเรือชมหิ่งห้อยที่ส่องแสงยามระยิบระยับยามค่ำคืนที่ถือเป็น ไฮไลท์ ของตลาดน้ำอัมพวาแล้ว เรื่องอาหารการกินก็ไม่ควรพลาด เพราะมีให้เลือกสรรหลากหลายประเภท และหลากหลายลำค้า (มาเป็นเรือเลยเรียกลำแทนร้าน) ไม่ว่าจะเป็นผัดไท หอยทอด ก๋วยเตี๋ยว อาหาร ทะเลเผา และที่ขาดไม่ได้ของขึ้นชื่อถ้ามาที่นี่ต้อง ปลาทูทอด


สำหรับมุสลิม หรือ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ก็หาอาหาร ฮาลาล (Halal food) ได้ที่นี่ค่ะ ที่ไปเที่ยวมาเห็น 2 ร้าน (ใครเห็นว่ามีมากกว่านั้นรบกวนแจ้งด้วยนะคะ) ถ้าเป็นร้าน อาหาร ฮาลาล (Halal food) ในเรือ มี 1 ลำ จอดแถวหน้า ร้านกาแฟทางเข้าสวนของมูลนิธิชัยพัฒนา ชื่อ บังสมหวัง-นิอามีนะห์ หอยทอด สุเหร่าคลองแขก 20 บาท ลองมองหาดูค่ะ นิเขาคลุมฮิญาบเห็นชัดเจนว่า อาหาร ฮาลาล (Halal food) มุสลิมแน่


ส่วนร้านที่ 2 อยู่บนบกแถวท่าเรือที่เรานั่งข้ามมาจากที่จอดรถในวัด ลองเดินดูค่ะบอกพิกัดไม่ได้แน่นอน จำได้ว่าอยู่หน้าสถานที่ราชการ อะไรสักอย่าง (สำนักงานเทศบาล ตำบลอัมพวา) ขายอาหาร ฮาลาล (Halal food) ประเภท กระเพาะปลา น้ำขิง น้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋



บอกไม่ได้ว่าร้านไหนอร่อยกว่ากัน เพราะปกติทานได้หมด ลองไปทานกันดูนะคะ แล้วมา บอกด้วยแล้วกัน

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ฮาลาล คือ ???



“ฮาลาล” (HALAL) เป็นคำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่า “อาหารฮาลาล” (HALAL FOOD) คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง

มาทำความรู้จักกับ “ฮาลาล” (HALAL) กันเถอะ “ฮาลาล” (HALAL) เป็นคำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่า “อาหารฮาลาล” (HALAL FOOD) คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้โดยสนิทใจ เราสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็น “ฮาลาล” (HALAL) หรือไม่นั้น ได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” (HALAL) ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นสำคัญ “เครื่องหมายฮาลาล” คือเครื่องหมายที่คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่าง ๆ ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการทำการประทับ หรือแสดงลงบนสลาก หรือผลิตภัณฑ์ หรือกิจการใด ๆ โดยใช้สัญญลักษณ์ที่เรียกว่า “ฮาลาล” (HALAL) ซึ่งเขียนเป็นภาษาอาหรับว่า ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หลังกรอบเป็นลายเส้นแนวตั้ง ใต้กรอบภายในเส้นขนานมีคำว่า “สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” โดยเครื่องหมายดังกล่าวนี้ จะออกให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร (HALAL FOOD PRODUCT) และเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ฮาลาล (HALAL PRODUCT) และหรือเนื้อสัตว์ฮาลาลที่นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น

การอนุมัติสิ่งใด หรือการห้ามสิ่งใดใสศาสนาอิสลามเป็นประกาศิตที่มาจากอัลเลาะห์ผู้เป็นเจ้า และมาจากศาสนทูตของพระองค์เท่านั้น ถือเป็นหลักสำคัญที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดโดยไม่ต้องค้นหาเหตุผลการอนุมัติ หรือเหตุผลการห้ามแต่อย่างใด เมื่อพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้แจ้งไว้ เพราะมุสลิมมีความเชื่อมั่นศรัทธาว่าสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าอนุมัติเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ส่วนสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าห้ามเป็นสิ่งที่มีพิษภัยและมีโทษ พระผู้เป็นเจ้าผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมาทราบดีถึงสิ่งที่เป็นและเป็นโทษต่อมนุษย์ พระองค์จึงอนุมัติสิ่งที่เป็นคุณและห้ามสิ่งที่เป็นโทษ

ส่วนเหตุผลที่มนุษย์ค้นพบว่ามีข้อดีในสิ่งที่ศาสนาอนุมัติ และมีข้อเสียในสิ่งที่ศาสนาห้าม โดยพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้แจ้งไว้และได้นำมาอ้างอิงนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นไม่ใช่เป็นหลักสำคัญ เพราะเหตุผลที่มนุษย์ค้นพบอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ส่วนประกาศิตของพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นอมตะไม่เปลี่ยนแปลง
ในเมื่ออิสลามเป็นระบอบในการดำเนินชีวิตของมุสลิมชีวิตของมุสลิมจึงผูกพันอยู่กัลป์ศาสนาตั้งแต่เกิดจนตาย การกระทำทุกอย่างของมุสลิมต้องดำเนินอยู่ในกรอบที่ศาสนากำหนดในทุกกรณีทั้งเรื่องความผูกพัน ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า มนุษย์กับมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับสัตว์ มุสลิมต้องมีความเมตตาสงสารสัตว์ การกักขังสัตว์โดยไม่ให้อาหารเป็นเหตุให้ตกนรก การกลั่นแกล้งรังแกสัตว์ จะต้องถูกนำไปใต่สวรต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า การเชือดสัตว์เป็นสิ่งที่ศาสนาอนุมัติให้กระทำได้ภายใต้กรอบที่เชือดเพื่อเป็นอาหาร ไม่กระทำทรมานสัตว์ ต้องเชือดด้วยมีดที่คม ต้องให้สัตว์ล้มลงนอนอย่างดี ขณะเชือดต้องกล่าวนามของพระผู้เป็นเจ้า

เนื้อหา : จากหนังสือฮาลาลและฮารอมในอิสลาม ของเชคยูซุฟ อัลกอรดอวีย์